กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) เดินหน้าผนึกกำลัง ร่วมรณรงค์การจัดการขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และขยะอาหาร สร้างการรับรู้และความตระหนักเรื่องการลดปริมาณขยะ

ที่โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างการรับรู้ และความตระหนักเรื่องการลดปริมาณขยะอาหาร (Food Waste) การลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastics) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียนที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานอย่างทั่วถึง ให้ช่วยกันคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เกิดการลดการสร้างขยะอาหาร การลดและเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว รวมทั้งส่งเสริมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า การจัดการขยะพลาสติกที่ผ่านมายังมีปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงานโดยไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อบังคับเพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกโดยเฉพาะ ยังคงมีการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ พลาสติกหลากหลายประเภท โดยไม่ได้คำนึงถึงการนํากลับมาใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นเป็นทุกปี การตระหนักรู้และความร่วมมือของประชาชนในการลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้ง เดียวยังมีน้อย มีการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกมากเกินความจําเป็น และมีอัตราเพิ่มขึ้นนับจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ขยะพลาสติกบางส่วนยังคงถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ ก่อให้เกิดปัญหาขยะในแหล่งน้ำ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต อีกทั้งระบบการจัดการขยะที่มีในปัจจุบันยังขาดการคัดแยก การรวบรวมเพื่อนํากลับไปหมุนเวียนเป็นวัตถุดิบใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ หมุนเวียน (Circular Economy) การดําเนินงานจะเป็นไปในรูปแบบความร่วมมือในเชิงสมัครใจ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ผู้บริโภค หน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับหนึ่ง สามารถลดปริมาณ ขยะพลาสติกและนําขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้เป็นบางส่วน

ซึ่งจากสถิติในช่วงปี 2564 พบว่า มีขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียว เกิดขึ้นภายหลังการบริโภคประมาณ 2.76 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 11 ของปริมาณขยะทั้งหมด มีการคัดแยกและนํากลับไปใช้ประโยชน์เพียงประมาณร้อยละ 19 ตกค้างในสิ่งแวดล้อมร้อยละ 3 ถูกนําไปกําจัดในสถานที่กําจัดขยะ ร้อยละ 78 ถึงแม้ว่าขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวสามารถนํากลับมารีไซเคิลได้ แต่ไม่นิยมในการเก็บรวบรวม นํามาขาย เนื่องจากมีการปนเปื้อนสูง มีน้ำหนักเบา ยากต่อการขนส่ง ทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการดำเนินการ ซึ่งปัจจุบันปัญหาพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งของประเทศไทย เกิดจากพฤติกรรมการใช้พลาสติกที่เกินความจําเป็นของผู้บริโภค ไม่มีการคัดแยกหรือทำความสะอาดก่อนทิ้ง ทำให้ขยะพลาสติกมีความสกปรก ปนเปื้อน ยากต่อการนํากลับมารีไซเคิล ในส่วนของขยะอาหารส่วนใหญ่เกิดจากอาหารที่เหลือจากการบริโภคทั้งในครัวเรือน อาหารที่เหลือจากการจําหน่ายในร้านค้าปลีก อาหารบุฟเฟ่ต์และอาหารที่ใช้เพื่อปรุงแต่งจานในร้านอาหารหรือโรงแรม ผลการศึกษาปริมาณขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย พบว่ามีขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดเฉลี่ย ร้อยละ 42.3 คิดเป็น ปริมาณขยะอาหาร 10.57 ล้านตัน โดยมีสัดส่วนของขยะอาหารส่วนที่รับประทานได้ เฉลี่ยร้อยละ 61.1 และขยะอาหารส่วนที่รับประทานไม่ได้ เฉลี่ยร้อยละ 38.9 ซึ่งขยะอาหารส่วนใหญ่ถูกนําไปจัดการหรือใช้ประโยชน์ได้น้อย ประมาณ 0.89 ล้านตัน เนื่องจากการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้มีขยะอาหารปะปนไปกับขยะทั่วไปที่ถูกนําไปกําจัด ณ สถานที่กําจัด ขยะมูลฝอย

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกิจกรรมจากนักเรียน ครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน มีการคัดแยกขยะพลาสติกที่ต้นทางภายใต้โครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ” รวมถึงการนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการใช้จัดการขยะตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความยอดนิยม
Tag