น่าน ลงพื้นที่ติดตามโครงการกล้าดี ปี 6 ทีมเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้าย “กล้าดีวิถีใหม่ รวมใจเพื่อชุมชน”

จากการที่มูลนิธิฮักเมืองน่าน ร่วมกับสมาพันธ์สื่อสารมวลชนจังหวัดน่าน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จัดการนำเสนอโครงการกล้าดี ปี 6 รอบ 20 ทีม “กล้าดีวิถีใหม่ รวมใจเพื่อชุมชน” ผ่านออนไลน์ ระบบ ZOOM Meeting พร้อมถ่ายทอดสดทาง สวท.น่าน FM 94.75MHz Facebook Live เพจ สวท.น่าน กรมประชาสัมพันธ์ สนับสนุนงบประมาณโครงการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พร้อมมอบทุนสนับสนุนดำเนินโครงการจริง ทีมละ 20,000 บาท ให้แก่ทีมเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้าย ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนบ่อเกลือ ชื่อโครงการ ดอกเกลือ ดอกสวย ช่วยอนุรักษ์ป่า สร้างรายได้ให้ชุมชน โรงเรียนศรัทธาศิลาเพชร(รังสรรค์) ชื่อโครงการ ของดีเมืองย่าง โรงเรียนตาลชุมพิทยาคม ชื่อโครงการ สมุนไพรพื้นบ้านอัดเม็ดไล่แมลงในแปลงผัก โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต ชื่อโครงการ ขยะมีค่า หนุนนำจิตอาสา รักษาสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสตรีศรีน่าน ชื่อโครงการ ซังข้าว ช็อคพรู๊ฟ(shockproof)

สำหรับวันนี้ทางคณะกรรมการตัดสินโครงการกล้าดี ปี 6 ได้ลงพื้นที่เป็นวันแรก ในการติดตามโครงการของโรงเรียนตาลชุมพิทยาคม ชื่อโครงการ สมุนไพรพื้นบ้านอัดเม็ดฆ่าแมลงในแปลงผัก และของโรงเรียนสตรีศรีน่าน ชื่อโครงการ ซังข้าว ช็อคพรู๊ฟ(shockproof)

โดยโครงการสมุนไพรพื้นบ้านอัดเม็ดไล่แมลงในแปลงผัก โรงเรียนตาลชุมพิทยาคม ได้ดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกำจัดศัตรูพืชแบบไม่ใช้สารเคมี แต่ใช้สมุนไพร โดยการอัดเม็ด (ใช้สูตรยาเส้นและกระเทียม) นำไปละลายน้ำ ใช้รดแปลงผักไล่แมลง อีกทั้งเพื่อประหยัดเวลา และความสะดวกสบายในการนำไปใช้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ด้านโครงการ ซังข้าว ช็อคพรู๊ฟ(shockproof) ของโรงเรียนสตรีศรีน่าน ได้ดำเนินการจัดทำซังข้าว ช็อคพรู๊ฟ(shockproof) เพื่อลดการใช้พลาสติกกันกระแทกสำหรับการขนส่งสินค้า พร้อมเพิ่มมูลค่าให้กับซังข้าว หรือซังข้าวโพด ลดการเผา ลดปัญหาหมอกควัน เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน

สำหรับการดำเนินโครงการกล้าดี ปีที่ 6 “กล้าดีวิถีใหม่ รวมใจเพื่อชุมชน” โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน ทั้งในและนอกโรงเรียน มีโอกาสเข้าถึงโครงการกล้าดี ส่งเสริมกระบวนการทำงานที่มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยเสนอโครงการเกี่ยวกับการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ อนุรักษ์ป่าไม้ การบูรณาการร่วมกับชุมชน ให้ชุมชนได้มีบทบาทและได้มีส่วนร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่นั้น ๆ และควรเป็นโครงการที่มีแนวทางการขยายผลองค์ความรู้ลงสู่ชุมชน ซึ่ง กฟผ.มีแนวทางในการปลูกป่า 3 แนวทาง คือ ปลูกที่ท้อง (สร้างอาชีพ สร้างรายได้) ปลูกที่ใจ และปลูกที่ป่า โดยแบ่งการสนับสนุนออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ต่อยอดผลงานจากโรงเรียนเดิมเพื่อขยายผลลงสู่ชุมชน และค้นหาโรงเรียนใหม่ที่สนใจเข้าร่วมเสนอโครงการ ทั้งนี้โครงการที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโครงการชนะเลิศ จะได้ทุนการศึกษา จำนวน 20,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ จำนวน 2 ทีม จะได้รับทุนการศึกษา ทีมละ 10,000 บาท และรางวัลชมเชย จำนวน 2 ทีม จะได้รับทุนการศึกษา ทีมละ 5,000 บาท จากทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความยอดนิยม
Tag