ผลการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน จังหวัดน่านไม่ผ่านเกณฑ์ 5 หมวด โดยพบว่ารายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 11 อำเภอจาก 15 อำเภอ

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน(ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชนจังหวัดน่าน ณ ห้องประชุมเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ศาลากลางจังหวัดน่าน   โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดน่านได้จัดทำสรุปผลการจัดเก็บข้อมูล ปี 2564 จังหวัดน่านได้รับการจัดสรรเป้าหมายการจัดเก็บข้อมูล ประกอบด้วย การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ด้วยเครื่องมืออิเลกทรอนิกส์เป้าหมายจำนวน 98 ตำบล 924 หมู่บ้าน 112,275 ครัวเรือน และจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) จำนวนเป้าหมาย 850 หมู่บ้าน โดยการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์สูงสุด 5 ตัวชี้วัดแรก ประกอบด้วย คนในครัวเรือนที่จบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีที่ไม่ได้เรียนต่อและยังไม่มีงานทำ ได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีพ  คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา  คนอายุ 60 ปีขึ้นไปมีอาชีพและรายได้ ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน และคนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี  ขณะที่ตัวชี้วัดเรื่องการมีงานทำและมีรายได้  ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีคนประชาชนชาวจังหวัดน่าน มีค่าเฉลี่ย 69,000 บาทต่อคนต่อปี จากการจัดเก็บข้อมูลพบว่ามีผู้มีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 11 อำเภอ  ซึ่งแนวทางการส่งเสริมการบริหารการจัดเก็บข้อมูลให้บรรลุตัวชี้วัด จะต้องมีเจ้าภาพหลัก เจ้าภาพร่วมตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกภาคส่วนต้องร่วมมือช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเจ้าภาพตัวชี้วัดหลัก หน่วยงานเจ้าภาพร่วม รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดน่าน  โดยประธานในที่ประชุมได้สั่งการให้ทุกภาคส่วนบูรณาการทำงานและนำผลการจัดเก็บข้อมูลมาสู่การแก้ปัญหาให้ประชาชนในทุกมิติ เพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความยอดนิยม
Tag