ประวัติสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน
 
 
 
 

 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน

 

      สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งราชการกรมประชาสัมพันธ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2518  ลงวันที่  11  สิงหาคม  2518  กำหนดให้กรมประชาสัมพันธ์มีส่วนราชการส่วนภูมิภาค โดยเริ่มเปิดสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดครั้งแรก 5 จังหวัด เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2523  ปัจจุบันกรมประชาสัมพันธ์ได้เปิดสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดทั่วประเทศไทย จำนวน 75 แห่ง

เริ่มก่อตั้งสำนักงาน

      สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน ได้รับงบประมาณเปิดทำการเมื่อวันที่  1  มีนาคม  2537  มีที่ทำการสำนักงานตั้งอยู่ชั้น 2 ของอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน(หลังใหม่) มีบุคลากรผู้รับผิดชอบบริหารงานประชาสัมพันธ์ดังนี้
         1. นายดนัย          ชนกล้าหาญ    (1  มีนาคม  2537 – 30 พฤษภาคม 2540)
        2. นายเสถียร         ปรีดาสา         (2  มิถุนายน 2540 - 29 กุมภาพันธ์ 2543)
        3. นายฉัตรเฉลิม      หัตถกรรม       (1 มีนาคม    2543   - 31 มกราคม 2544)
        4. นายสุชาติ         รวมไมตรี            (1 กุมภาพันธ์  2544  –  17 มีนาคม 2549)
        5. นายชเนรินทร์      สมินทรปัญญา  (20  มีนาคม 2549 - 30 พฤศจิกายน 2553)
        6. น.ส.พิมพ์พิศา      พจนานุรัตน์     (1 ธันวาคม 2553 – 31 มกราคม 2555)
        7. นางสุดา             มากทอง         (1 กุมภาพันธ์ 2555 – 1 มีนาคม 2556)
        8. นายเกรียงศักดิ์       เจดีย์แปง        (1 มีนาคม 2556 – 14 พฤษภาคม 2561)
       9.นางสาวจันทร์สวย    บุญนำมา    (15 พฤษภาคม 2561 – 21 กุมภาพันธ์ 2562)
      10.นางสาวชนิสา      ชมศิลป์          (26 กุมภาพันธ์ 2562 – 5 พฤษภาคม 2563)
      11.นางสาวธนวันต์     ชุมแสง           (7 พฤษภาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน)

 

 

 ตรากรมประชาสัมพันธ์

      ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฎในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ” ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบตามวรรณคดีกล่าวไว้ว่า พระอินทร์เป่าสังข์ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่าง ๆ ในโลก อย่างไรก็ดี โดยที่สังข์ ตามลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นมงคล 3 คือ สังข์ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวทและตัวสังข์ มีรอยนิ้วพระหัตถ์ ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนา พราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย นอกจากนี้ พระในลัทธิชินโตก็ใช้สังข์เป่าในพิธีมงคลพวกชาวเกาะทะเลใต้ เป่าสังข์ บอกสัญญาณระหว่างกันปรากฏว่าได้ยินไปไกลไม่แพ้เป่าเขาควาย เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณาเผยแพร่และอธิบายชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างกว้างขวางเป็นการสร้างความเข้าใจอันดี โดยมีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และภาพยนตร์เป็นเครื่องช่วย จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์ของเทวดาในสมัยโบราณเพื่อบอก สัญญาณ และเรียกประชุม นั่นเอง

 

 สีกรมประชาสัมพันธ์

ใช้สีม่วง ซึ่งถือกันว่าเป็นสีของงานสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์

 

Link banner

 

Copy code นี้ไปลงในเว็บไซต์ของท่าน

 <a href="http://www.prd.go.th" target="_blank"><img src="http://www.prd.go.th/images/prd_banner01.jpg" border="0" alt="กรมประชาสัมพันธ์"

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar